วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Lecture2 (16/11/2010)

Information System

ตัวอย่างบริษัทที่มีการใช้ระบบสารสนเทศ
MARYKAY เป็นบริษัทขายเครื่องสำอาง ที่มีใช้ Social Media สำหรับกระบวนการซื้อ-ขาย มาเป็นระยะเวลาประมาณ 7-8 ปีมาแล้ว โดยนำมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การใช้ระบบโทรศัพท์มือถือในการเช็คสต๊อก ระบบการสั่งสินค้าออนไลน์ เป็นต้น 

ระบบสารสนเทศ คืออะไร มาจากไหน
      Data (ข้อมูล) คือ ข้อมูลทั่ว ๆ ไป
      Information (สารสนเทศ) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลแล้ว เป็นการบวกอะไรบางอย่างเข้ากับ Data เพื่อให้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจมากขึ้น มีความสำคัญในการช่วย business process ให้ทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น
      Knowledge (องค์ความรู้ขององค์กร) คือสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

Data -> Information -> knowledge

เนื่องจากข้อมูลมีอยู่เยอะแยะมากมาย ดังนั้นต้องนำมาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อทำให้เป็นสารสนเทศ และเมื่อนำสารสนเทศมาก็จะเกิดเป็น Knowledge และด้วยเหตุนี้ระบบสารสนเทศจึงก่อให้เกิดแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้

ชนิดของสารสนเทศ
1.  Personal and Productivity System ระบบที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยการทำงานของแต่ละตัวบุคคล เช่น โทรศัพท์มือถือ บีบีแชท
2.  Transaction processing system ระบบที่คอยดูแล transactions ทั้งหมดขององค์กร เช่น ร้านสะดวกซื้อ โลตัส เกิด transactions เอาไว้แล้วนำไปประมวลผลภายหลัง ถือเป็ยจุดเริ่มต้นและสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของระบบ
3.  Functional and Management Information System สนับสนุนการทำงานเฉพาะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในองค์กร คอยรองรับหน่วยงานต่าง ๆ มีราคาแพง เช่น พวกแบงก์  มีการพัฒนาระบบในองค์กร ระบบสารสนเทศเป็นแนวนอน คือ มีความเกี่ยวข้องกับทุกๆ ระบบไปทั่ว ส่วนงานอื่น ๆ เป็นแนวตั้ง
4.  Enterprise Information System : ERP คือ การลิงค์ทุกหน่วยงานในองค์กร หรือ ลูกค้า หรือ supplier software เช่น  ERP SAP
5.  Inter- organizational system : IOS หมายถึงระบบสารสนเทศที่ connect หน่วยงานหลายๆหน่วยไว้ด้วยกัน เช่น บริษัทลูกติดต่อบริษัทแม่ที่ต่างประเทศหรือกับสาขาทั่วโลก
6.  Global Information System  ระบบที่สามารถเชื่อมต่อบริษัทต่าง ๆ อยู่ที่คนละประเทศกัน และรวมกันหลายๆ ระบบจนเริ่มเป็น global
7.  Very Large and Special System สามารถใช้เชื่อมต่อกับองค์กรต่าง ๆ ได้ทั่วโลก ในปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนน้อยที่ใช้งานจริง ตัวอย่าง ระบบจองตั๋วเครื่องบิน

Business information system
1.  Transaction processing system : TPS
     -  อยู่ในทุกองค์กร เช่น กระบวนการ Payroll, Accounting, Shipping, HR ต่าง ๆ
     -  มีความสำคัญที่สุดในองค์กร เพราะเก็บข้อมูลขององค์กรทุกอย่างเอาไว้
     -  ข้อมูลต่าง ๆ ต้องเก็บในฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถนำเอาข้อมูลเก่า ๆ มาประมวลผลใหม่ได้
2.  Management information system : MIS
     -  ใช้สำหรับผู้บริหารระดับกลางเพื่อทำการตัดสินใจเท่านั้น พนักงานทั่วๆไปไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะการ design ระบบให้ feature กับพนักงานมากเกินไปก็ไม่ดี เนื่องจากเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
     -  ตัวอย่างเช่น นำข้อมูลยอดขายของโลตัสแต่ละสาขามาเปรียบเทียบเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ
     -  อีกความหมายสำหรับ MIS  คือ เป็นสาขาวิชาการใช้สารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ
3.  Decision Support System : DSS
    -  คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ เพื่อให้พนักงานใช้ในการตัดสินใจต่าง ๆ
    -  โดยการใช้หลักของสถิติและข้อมูลจากภายนอก ตัวอย่างเช่น  PTT , การบินไทย
4.  Group Decision Support System : GDSS
    -  คือ การตัดสินใจเป็นกลุ่ม มีการใช้ระบบสารสนเทศมาช่วย เพื่อทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    -  ช่วยลด conflict ต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากความไม่พร้อมของข้อมูล
5.  Executive Support System: ESS
    -  เป็นระบบที่เอาไว้ support ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
    -  ต่อยอดมาจาก MIS อีกที บวกกับเอาข้อมูลจากภายนอกมาใช้ด้วย
    -  สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาเปรียบเทียบได้
    -  ตัวอย่างเช่น Interface Dashboard สำหรับผู้บริหาร ซึ่งส่วนใหญ่ออกมาในรูปแบบ graphic
ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศ
ระบบต่าง ๆ มีความเกี่ยวข้องกัน และ ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ เริ่มต้นจาก Transaction processing system ดังนั้นถ้าเกิดความผิดพลาด ข้อมูลอื่นก็จะผิดพลาดไปด้วย

Enterprise applications Software เป็นแบบ ERP พวกบริหารองค์ความรู้

Supply chain management systems
ระบบการจัดการ ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เป็นการบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง
supplier ของบริษัท

Customer Relationship Management: CRM
วัตถุประสงค์เพื่อ รักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเดิมไว้และการหาลูกค้าใหม่เพิ่ม ตัวอย่างเช่น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ AIS Serenade ลูกค้าจะได้รับการบริการที่ดีกว่า รวดเร็วกว่า

Cloud Computing
 เป็นการนำเอาระบบสารสนเทศต่าง ๆ ให้เป็นระบบออนไลน์ ดังนั้นซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็จะเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมดหมด
ข้อดี คือ ใช้งานได้สะดวก อยากใช้เมื่อไหร่ ก็สามารถใช้ได้เลย เป็นรูปแบบของ software as a service: SAAS คือเมื่อผู้ใช้อยากใช้เมื่อไหร่ก็สามารถเรียกใช้ได้เมื่ออยู่ในที่ใดก็ตามที่มี internet network ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้จึงไม่ต้องพัฒนา software เอง สามารถลดต้นทุนที่เสียไปในการพัฒนา เพราะบริษัทไม่ต้องลงทุนสร้างซอฟต์แวร์เอง แต่สามารถเรียกใช้ได้เท่าที่เราต้องการ เช่น อยากใช้เฉพาะช่วงปลายปี ช่วงสามเดือน ก็สามารถเป็นไปได้ เช่น Amazon การขายจะมากในสามเดือนสิ้นปี
ข้อเสีย ข้อมูลบางอย่างเป็นความลับ เช่น ข้อมูลทางด้านบัญชี ทางด้านการเงิน การใช้ software ประเภทนี้จึงไม่มีความปลอดภัยเท่าที่ควร

Knowledge management systems
เป็นการเก็บองค์ความรู้ต่าง ๆ ไว้ในองค์กร
เพื่อนำเอาความรู้เดิมมาแตกยอด และสามารถเอามาแชร์กันได้ เพราะองค์ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในตัวบุคคล เมื่อพนักงานออก องค์ความรู้ก็หายไปด้วย ต้องเสียเวลาในการเทรนพนักงานใหม่ และนำเอาข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในองค์กรมาสร้างเป็นองค์ความรู้ เช่น การสร้าง Best practice ขององค์กร การนำองค์ความรู้มาจัดเก็บ เป็นขั้นตอนที่ยากมาก เพราะธรรมชาติของมนุษย์มีการแข่งขันกัน หลังจากนั้นนำองค์ความรู้มาประมวลจนเกิดเป็น wisdom เป็นคิดแตกต่างแต่สามารถก่อให้เกิดผลตอบแทนได้

Intranet
  -  Inter networking = internet
  -  Intranet คือ internet ภายในองค์กร
   -  Internet ไม่ secure เพราะข้อมูลมีการแชร์ไปทั่วไป ขึ้นอยู่กับ traffic rough ดังนั้นองค์กรจึงต้องใช้ Intranet เพื่อความปลอดภัย

Extranets
    - คือ network ที่องค์กรต่าง ๆ ใช้เชื่อมต่อกัน แต่เปน private เช่น องค์กร A ติดต่อสื่อสารกับ
    - ความปลอดภัยจะสูงกว่า คนที่จะเข้ามาเจาะระบบพวกนี้ยาก

เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการร่วมมือกันและการติดต่อกันในองค์กร
 เช่น Email , IM , lotus note การใช้ Smartphone แต่หลายๆบริษัท ก็ไม่อนุญาตให้ใช้ เนื่องจากอาจทำให้ข้อมูลสำคัญของบริษัทอาจจะรั่วไหลได้ บริษัทใหญ่ๆ จะสร้าง social network สำหรับองค์กรเองเลย เมืองไทยไม่มีการใช้มากนัก เน้นการทำการตลาดมากกว่า การแชร์ความรู้ ส่วน Wikis คือ software ที่เอาไว้ใช้เขียนองค์ความรู้ร่วมกัน แต่ละคนที่เข้ามาเขียนสามารถมาแชร์ความรู้ด้วยกันได้ แต่ปัญหาคือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูลก็มีน้อย เพราะคนที่เขียนทีจำนวนน้อย

Virtues worlds พวกเกมส์ออนไลน์ เช่น การสร้าง Avatar แอนนิเมชั่นต่างๆ world of war craft เป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้จากการขายไอเท็ม หรือการเปิดคลาสสอน ฟังแลคเชอร์ได้

E-business  ความหมายกว้างมาก ออกแนวองค์กรขายให้องค์กรมากกว่า

E-commerce คือการขายออนไลน์กับบุคคลทั่วไป องค์กรขายของระหว่างลูกค้า EBay, Pramool

E-government เมืองไทยทำดีมาก เช่นการจ่ายภาษีออนไลน์ การทำพาสสปอร์ต การประมูลป้ายทะเบียนรถทางเว็บไซต์

Information system department
หน่วยงานหนึ่งในองค์กร ส่วนใหญ่จะอยู่ในหน่วยงานใหญ่ๆ ไม่ใช่ศูนย์คอมพิวเตอร์รับซ่อมคอม บริษัทขนาดเล็กทั่ว ๆ ไปไม่ค่อยมี เพราะไม่เห็นถึงความจำเป็น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรด้วย 
ตำแหน่งใหญ่สุด คือ
CIO ผู้บริหารที่ดูแลทางด้านระบบสารสนเทศ หรืออาจเรียกว่า CTO ดูแลทางด้านเทคโนโลยี

Web2.0 / World Wide Web version 2
เป็นยุคใหม่ของ
web เมื่อก่อนคนเราเป็นแค่ผู้ใช้ แต่ web2.0 content ต่าง ๆ ใน social media เกิดขึ้นจากผู้ใช้ คือเรากลายเป็นปผู้สร้างด้วย

ตัวอย่างเทคโนโลยีอื่น ๆ
·         Web service
·         Enterprise GPS ใน แทกซี่ เมืองไทยยังไม่มีการใช้
·         Pervasive computing คือ เทคโนโลยีอยู่รอบตัวเราทุกที่
·         Open source software มาจากพวก programmer หรือ user ทั่ว ๆ ไป พยามยามสร้าง product อื่นมาทดแทน และ เป็นการใช้งานฟรี
·         Virtualization เทคโนโลยีเสมือน พยายามทำให้ server หลายๆ ตัว มาทำงานใน server ตัวเดียวกัน  เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มความเสถียรให้มากยิ่งขึ้น

Presentation: E-paper, Tablet PC, Green IT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น