วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture10 (1/02/2011)

Enterprise System
Supply Chain Management
Enterprise Resource Planning

Enterprise System

                Traditional information system เนื่องด้วยการทำงานแบบเก่าแต่ละแผนกมีระบบการทำงานที่แยกออกจากกัน ทำให้ระบบการทำงานของบริษัทไม่มีความสอดคล้องกัน จะต้องใช้เวลามากขึ้นในการส่งต่อข้อมูล และก่อให้เกิดปัญหา Fragmentation of data หรือการกระจัดกระจายของข้อมูล คือ ระบบไม่คุยกัน ทำให้ data ต่างๆ กระจัดกระจาย เป็นผลให้ลูกค้าไม่สามารถ track คำสั่งซื้อได้ ทำให้เกิดผลแง่ลบในการบริหารงาน ด้วยเหตุนี้จึงเกิด Enterprise Systems ขึ้น
                Enterprise System หมายถึง ระบบหรือกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ทั้งองค์กร เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ Database และ Data ร่วมกัน ซึ่งจะคอยจัดการระบบสารสนเทศ โดยรวมเอา Business Process หลัก ๆ ขององค์กรเข้ามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว Enterprisewide Systems ได้แก่
·        ERP -- ระบบจัดการบริหารงานภายในขององค์กร เช่น Oracle ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังลูกค้าและผู้ขายได้ด้วย
·        CRM – ซอฟแวร์ที่คอยดูแลและบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
·        Knowledge Management Systems (KM) -- เก็บองค์ความรู้ พัฒนาองค์ความรู้ภายในองค์กร เช่น K-Business
·        Supply Chain Management (SCM)  -- การบริหาร Supply chain จาก material ถึง ลูกค้า
·        Decision Support Systems (DSS) --  ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจภายในองค์กรแก่ผู้บริหาร เช่น ระบบส่งรถโดยคำนวณการใช้น้ำมัน การเดินทาง เพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำมันมากที่สุด
·        Intelligent Systems -- หา trend ที่ช่วยในการตัดสินใจ
·        Business Intelligence – การบริหารความรู้ภายในองค์กร นอกจากการอบรมที่บริษัทจัดขึ้นเอง อาจรวบรวมจากอีเมล์หรือการสื่อสารระหว่างบุคคลกันเอง เป็นการหาความหมายของ data ต่าง ๆ เช่น OLAP, analytics, data mining, business performance management และ text mining

Supply Chain Management

                หมายถึง ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ Suppliers, manufacturers, distributor เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า โดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ
·         Warehouse Management System (WMS) – ระบบที่ใช้บริหารคลังสินค้าเพื่อบริหารสินค้าในคลัง เช่น จำนวน การวางสินค้า การเข้าออกของสินค้า การใช้พื้นที่ในการเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
·         Inventory Management System (IMS)
·         Fleet Management system -- ระบบการบริหารการส่งของ สำหรับเช็คว่ามีการส่งของในแต่ละที่เท่าไหร่  มี Check Point แต่ละจุดเพื่อตรวจสอบว่ามีของจำนวนเท่าไหร่ สามารถเช็คได้ว่าของชิ้นนี้ต้องส่งไปที่ไหน เมื่อไหร่ และสามารถตรวจสอบได้ว่าของไปถึงจุดหมายแล้ว
·         Vehicle Routing and Planning -- คำนวณเส้นทางเดินรถขนส่ง เพื่อให้การเดินรถมีประสิทธิภาพ
·         Vehicle Based System -- บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ระบบ GPS ตรวจจับสถานที่ ระบบการวัดแอลกอฮอล์

10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
  1. Connectivity – การเชื่อมต่อกัน เช่น GPRS Bluetooth และ Wireless มาตรฐาน 802.11n หรือ 802.11g ซึ่งมีความแรงมากกว่า 54Mbit/s – 600 Mbit/s และมีข้อดีคือ สามารถใช้ access point ได้หลายจุด
  2. Advanced Wireless : Voice & GPS – เครื่องมือที่มีอยู่เป็น Muti สามารถนำมาใช้ในการ control supply chain ข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้ในสิ่งแวดล้อมบางอย่างได้ เช่น ไม่สามารถใช้ในโกดังได้
  3. Speech Recognition – การสั่งงานด้วยเสียงพูดสำหรับการป้อนข้อมูลแบบแฮนด์ฟรี ทำให้สามารถนำมาใช้กับคนพิการได้
  4. Digital Imaging -- การประมวลผลภาพดิจิตอล เช่น ถ่ายภาพบาร์โค้ดเป็นใบเสร็จออนไลน์ได้
  5. Portable Printing -- การพิมพ์แบบเคลื่อนที่ ทำการปริ้นใบเสร็จให้กับลูกค้าได้
  6. 2D & other Barcoding advances -- ความก้าวหน้าของระบบบาร์โค้ด 2 มิติ และระบบบาร์โค้ดอื่นๆ  เช่น QR code
  7. RFID – chip ตัวเล็ก ๆ ที่ฝังอยู่ในสินค้า เช่น ในบัตรรถไฟฟ้า BTS ใช้ในการตรวจสอบสต๊อกเช่น ไม่ต้องแสกนทุก ๆ ตัว แค่วิ่งผ่านตัวอ่านก็สามารถรู้จำนวนสินค้าเข้าออก
  8. Real Time Location System  (RTLS) – ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง ทำให้องค์กรสามารถขยายเครือข่ายแลนไร้สายขององกรเข้าสู่ระบบการติดตามสินทรัพย์
  9. Remote Management – การจัดการทางไกล เช่น อยู่ออฟฟิศหนึ่งก็สามารถควบคุมอีกออฟฟิศหนึ่งได้
  10. Security -- ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะอาจเกิดอาชญากรรมด้านต่าง  ๆ ได้มาก เช่น การขโมย การดักฟัง เป็นต้น

Supply Chain Management and Its Business Value

                ปัญหาที่เกิดกับ Supply chain มาจาก 2 แหล่ง คือ 1) ความไม่แน่นอนต่าง ๆ คือ การพยากรณ์ความต้องการ ซึ่งความต้องการจริงอาจเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่ประมาณการเอาไว้และ 2) ความจำเป็นต้องประสานงานกับการดำเนินงานหลาย ๆ แบบ ทั้งภายในด้วยกันเอง และ พันธมิตรธุรกิจทั้งหลาย
                ดังนั้นทุกหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน เช่น Wal-Mart คู่ค้าต้องแบ่งปันข้อมูลให้เพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้า เป็นปัญหาในการทำงานจริง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเป็นการ Collaborative Planning ผ่านการออกแบบการส่งข้อมูลและสินค้าร่วมกัน สามารถประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะเป็น รวมทั้งผ่านการจัดการ Vendor Managed Inventory (VMI) ระหว่างคู่ค้าด้วยกัน

Enterprise Resource Planning (ERP) Systems

                ช่วยเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลจากทุกหน่วยงานได้ เช่น สร้างการซื้อขายและดำเนินธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ (Provide an electronic order form) สำหรับการเข้ามาของ ERP อาจมีปัญหาเนื่องจากความจริงแล้วมีระบบสารสนเทศเดิมอยู่แล้ว ต้องมีการปรับตัวที่อาจสร้างกระแสต่อต้านได้ด้วย และไม่ว่าจะซื้อหรือเช่าระบบใดมาใช้จะต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับการดำเนินงานหลักของแต่ละบริษัท ซึ่งใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการนำมาใช้จริงในประเทศไทย
                ตัวอย่าง ERP system vendors ได้แก่ SAP, Oracle, PeopleSoft, F.D.Edwards, Sage Group, GEAC, Lawson software เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น